บ๊ายบายขวดนมเมื่อไหร่ดี

Last updated: 13 มี.ค. 2561  |  6721 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บ๊ายบายขวดนมเมื่อไหร่ดี

เมื่อหนูติดนมขวดมีผลอย่างไร 
 
1.    ฟันผุ ฟันสบกันไม่ดี โดยส่วนใหญ่แล้วแม่มักให้ลูกดูดนมก่อนนอน จนลูกหลับคาขวดนม เด็กจะติด บางคนถ้าไม่ได้ดูดนม ก็จะนอนไม่หลับเลย
เมื่อเป็นเช่นนั้นบ่อยๆ เด็กก็มีโอกาสเกิดฟันผุจากคราบน้ำนมที่ค้างปากทั้งคืน และยิ่งเป็นขนมชนิดหวาน ก็ย่อมมีผลมากขึ้นด้วยค่ะ และนอกจากนี้
ถ้าคุณแม่ปล่อยให้น้องดูดนมขวดเป็นเวลานาน จนเด็กโต จุกนมที่ดูดนั้นมีผลต่อการเรียงของฟัน ทำให้การสบฟันไม่ดี ฟันยื่น และเสียโอกาสในการ
เรียนรู้ฝึกฝน พัฒนา ปากและฟัน ตามขั้นตอนด้วยค่ะ
2.    โรคอ้วน ในวัย 1 ขวบขึ้น เป็นวัยที่ทานข้าวเป็นสารอาหารหลัก ส่วนนมนั้นเป็นอาหารเสริม แต่ในเด็กที่ทานนมขวด มักไม่ค่อยทานข้าว เพราะติดรสหวาน
จากนมขวด ทำให้ไม่สนใจที่จะทานข้าว เมื่อทานนมมากๆ ก็จะได้แต่น้ำตาล ขาดสารอาหารจากข้าวตามวัยที่เด็กควรจะได้รับ จึงทำให้เกิดโรคอ้วนตามมาได้
3.    ไม่ยอมทานข้าว เด็กที่ติดขวดนมมักปฏิเสธการทานข้าว ทานน้อย และถ้าปล่อยไว้จนโต เด็กก็จะดื้อจนปรับเปลี่ยนได้ยากมากขึ้น จนติดการดูดนม
จนเป็นกิจวัตร แม้ไม่หิวก็ดูด เด็กจึงไม่รู้สึกอยากทานข้าว
4.    ขาดทักษะที่สำคัญ ยังทำให้เด็กเสียโอกาสในการพัฒนาทักษะการพูด การเคี้ยวและการใช้มือในการทำกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย
 
เมื่อหนูเลิกนมขวด
1.    ฟันไม่ผุ ฟันสวย เพราะเด็กที่เลิกทานนมขวด หันมาทานนมจากแก้วหรือจากหลอด ทำให้เลิกนมมื้อดึกได้เร็วขึ้น ไม่ต้องดูดนมจนหลับคาปาก โอกาสเกิด
ฟันผุก็น้อยลง ทำให้ฟันสวยและไม่เสียรูปทรง
2.    ไม่ปัสสาวะรดที่นอน การเลิกนมขวดมาทานนมจากแก้ว ไม่ต้องทานนมตอนกลางคืนเหมือนแต่ก่อน ก็จะปัสสาวะได้น้อยลง จึงช่วยฝึกการขับถ่ายให้ลูกด้วย
3.    ทานข้าวได้เยอะ เพราะเด็กไม่ติดขวดนม ก็จะลดการดูดนม ทำให้ทานข้าวได้มากขึ้น เพราะไม่อิ่มนม
4.    แม่เหนื่อยน้อยลง เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการล้างขวด สามารถพกพาแก้วหรือดื่มจากกล่องได้ทุกที่ทุกเวลา
5.    ได้ฝึกทักษะ เด็กจะได้ฝึกทักษาการใช้มือและพัฒนาการปากและฟัน ตามพัฒนาการที่ควรจะเป็น และเด็กก็จะไม่รู้สึกอายเมื่ออยู่ร่วมกับเพื่อนในชั้นด้วย
ทำให้เด็กมีบุคลิกภาพที่ดีด้วย
จากการศึกษาการใช้ขวดนมในเด็กอายุ 1 - 4 เดือน ระหว่างปี 2546 - 2549 จำนวน 1,038 ราย พบว่า เด็กอายุ 1 ปีขึ้น ไม่สามารถที่จะเลิกขวดนมได้ ส่วนเด็กอายุ 6 เดือน ร้อยละ 85 ยังดูดนมมื้อดึก เด็กอายุ 2 - 3 ปีร้อยละ 70 ยังดูดนมจากขวด และร้อยละ 50 ยังดูดนมมื้อดึก
 
 ที่มา: นิตยสารแม่และเด็ก
 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้