Last updated: 14 มี.ค. 2561 | 4995 จำนวนผู้เข้าชม |
ทำไมคุณแม่จึงควรบีบน้ำนมเก็บไว้
การบีบน้ำนมเก็บไว้เหมาะเป็นอย่างยิ่งในกรณีที่คุณไม่สามารถให้ลูกกินนมได้ ตามต้องการ หรือคุณแม่ต้องการพักหรือต้องการให้ลูกทานอาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็ก เล็ก รวมถึงกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถอยู่กับลูกได้ในเวลานั้น แต่ต้องการให้ลูกได้รับสารอาหารจากนมแม่ เหตุผลที่ดีอีกประการหนึ่งก็คือเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้สามีได้สร้างความ ผูกพันกับลูก โดยมีส่วนร่วมในการให้นมลูก การบีบน้ำ นมด้วยมือ คุณแม่ควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมหรืออาบน้ำ หรือนวดเต้านมเพื่อบรรเทาอาการคัดก่อนเริ่มบีบน้ำนม เมื่อล้างมือและทำความสะอาดภาชนะที่จะเก็บน้ำนมโดยการฆ่าเชื้อแล้ว คุณก็เริ่มบีบน้ำนมได้ * ประคองเต้านมด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วนวดคลึงไล่ตั้งแต่ส่วนบนลงมา และคลึงรอบเต้านมรวมทั้งส่วนล่างด้วย * ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดบนบริเวณรอบลานหัวนม (บริเวณที่เป็นสีเข้มรอบหัวนม) เบาๆ * บีบพร้อมกันแล้วกดเข้าหาตัวเพื่อให้นมไหลออก แต่ควรระวังน้ำนมพุ่งกระจายออกมา การบีบน้ำนมด้วย อุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้เครื่องปั๊มนมช่วยให้คุณแม่บีบน้ำนมได้เร็วขึ้นและไม่เหนื่อย เท่าการบีบด้วยมือ แต่คุณแม่ต้องใช้น้ำอุ่นประคบที่เต้านมหรือนวดก่อนเพื่อลดอาการคัด และต้องแน่ใจว่าเครื่องปั๊มนมปราศจากเชื้อโรคก่อนนำไปใช้ โดยการบีบน้ำนมด้วยเครื่องควรใช้เวลาประมาณ 15 – 45 นาทีและไม่ควรทำให้คุณรู้สึกเจ็บที่เต้านม แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับเครื่องปั๊มที่คุณใช้ด้วย การเก็บน้ำนมที่ บีบออก คุณแม่สามารถเก็บน้ำนมไว้โดยใส่ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาหรือช่องแช่ แข็ง ส่วนน้ำนมที่นำมาอุ่นให้ร้อนแล้วแต่ไม่ได้ใช้นั้น ควรทิ้งทันที และอย่าลืมเขียนวันที่ที่บีบน้ำนมเก็บไว้ด้วย โดยน้ำนมส่วนใหญ่จะเก็บได้ประมาณ: * 72 ชั่วโมงในตู้เย็นช่องธรรมดา * หนึ่งเดือนในช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบประตูเดียว * สามเดือนในช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบสองประตู (แม้ว่าจำนวนแอนติบอดี้ในน้ำนมจะลดลงแล้วก็ตาม) หากต้องการละลายน้ำนมที่แช่แข็ง ให้วางไว้ในน้ำร้อนจนกว่าจะละลายจนหมด ตรวจดูอุณหภูมิก่อนที่จะให้ลูกกินและใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าอุ่นนมในไมโครเวฟเพื่อให้ละลายเนื่องจากจะเป็นการทำลายสารอาหาร
ข้อมูลจาก : http://content.weloveshopping.com
22 ก.พ. 2567
26 ธ.ค. 2554
22 ม.ค. 2567
3 เม.ย 2567