ทฤษฎีความผูกพัน (การเลี้ยงลูก)
ทฤษฎีความผูกพัน คือกฎแห่งความเข้าใจที่พ่อแม่ควรมีต่อลูกตั้งแรกแรกเกิด จอห์น โบลบี กล่าวไว้ว่า“สายสัมพันธ์ทางกาย วาจา ใจระหว่างเด็กกับคนเลี้ยงดูตั้งแต่แรก มีผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้เกิดเป็นลักษณะนิสัยของเด็กเมื่อโตขึ้น และพัฒนาไปเป็นความสัมพันธ์ของเด็กกับคนอื่นๆ ในอนาคตด้วย”
- ลูกวัย 0-3 เดือน ยังไม่มีความสัมพันธ์กับใคร เขาจะร้องไห้เมื่อเกิดความต้องการ สิ่งสำคัญที่สุดคือ “ผู้เลี้ยงดูต้องรีบตอบสนองต่อเด็กทันที” ไม่ปล่อยร้อง
- ลูกวัย 2-7 เดือน ลูกเริ่มรับรู้ถึงการตอบสนองจากคนรอบข้าง เขาจะเกิดความผูกพันธ์ต่อคนเลี้ยงหลัก มากกว่าคนเลี้ยงรอง
- ลูกวัย 7-9 เดือน ลูกเริ่มมีพัฒนาการ คือกลัวการพลัดพราก มีอาการติดคนเลี้ยงหลัก ร้องหาตลอดเมื่อคลาดสายตา และลูกจะเริ่มกลัวคนแปลกหน้า ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
- ลูกวัย 10 เดือน ขึ้นไป ลูกเริ่มมีความผูกพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับคนในครอบครัว เริ่มแสดงความรักพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และคนใกล้ชิด
ความผูกพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างลูกกับพ่อแม่ก่อให้เกิดผลดี ดังนี้
1. ลูกเกิดความมั่นใจ
2. ลูกกล้าออกไปเผชิญสิ่งใหม่ในโลกกว้าง
3. ลูกเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ส่งผลให้เขาเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย
สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิต ที่สำคัญคือพ่อแม่ต้องทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และพึ่งพาได้ แต่หากไร้ซื่งความผูกพันธ์ ลูกจะเกิดความกลัว ลังเล ไม่เชื่อใจ ขาดทักษะในการเข้าสังคม และมีปัญหาด้านการสร้างสายสัมพันธ์กับผู้อื่นต่อไป เรียบเรียงเป็นบทความจาก Youtube คุณหมอ ปัณฑิตา หมอเด็กภูเก็ต Dr Panthita Phuket Pediatrician
ทางร้าน พุงกลม ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
Source : https://shorturl.asia/SEFkL