กำจัดน้ำมูกให้เจ้าตัวเล็ก

Last updated: 6 ก.ย. 2567  |  170111 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กำจัดน้ำมูกให้เจ้าตัวเล็ก น้ำมูกเด็ก


ทำไมลูกมักมีน้ำมูก และต้องดูแลอย่างไร

เด็กวัยกำลังโตมักจะเป็นหวัดบ่อย และหนึ่งในอาการที่เห็นได้ชัดคือจมูกตันและน้ำมูกไหล หรือแม้แต่เด็กที่มีอาการภูมิแพ้ก็มักจะมีน้ำมูกทั้งปี การสังเกตสภาพน้ำมูกของลูกช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้ได้ว่าลูกอาจป่วยหรือไม่ แม้ว่าการดูจากน้ำมูกอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แต่ก็นับว่าเป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นได้

น้ำมูกคืออะไร

น้ำมูกเป็นของเหลวที่ถูกผลิตขึ้นในโพรงจมูก เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น หากจมูกเกิดการระคายเคือง น้ำมูกจะถูกผลิตออกมามากขึ้น และเมื่อร่างกายเจอเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวจะเข้าต่อสู้กับเชื้อ ซึ่งทำให้สีของน้ำมูกเปลี่ยนไป เช่น กลายเป็นสีเหลืองหรือเขียวข้น การเปลี่ยนแปลงนี้อาจบ่งบอกถึงอาการป่วย แต่การตรวจสุขภาพเต็มรูปแบบโดยคุณหมอยังคงจำเป็นน้ำมูก เป็นสารคัดหลั่งที่อยู่ในโพรงจมูก ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื่นภายในรูจมูก มีลักษณะใสๆ ถ้ามีการระคายเคืองภายในรูจมูกมาก จะมีการผลิตน้ำมูกออกมามาก และถ้าร่างกายได้รับเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวจะออกมาแสดงตัวต่อสู้กับเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวบางส่วนตาย สีของน้ำมูกก็เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เหลืองปนเขียว เขียวข้น จากจุดนี้เอง พ่อแม่หลายท่านใช้สังเกตอาการหวัดของลูก แต่การที่มีน้ำมูกไหล หรือสีของน้ำมูกเปลี่ยนไป ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ 100% เพราะการตรวจสุขภาพคุณหมอก็ต้องทำการฟังปอด ตรวจโพรงจมูก ตรวจคอ ตรวจหู ด้วยอยู่แล้ว


น้ำมูกแบบไหน แปลว่า ไม่สบาย
ในขณะที่ร่างกายแข็งแรงปกติ ก็อาจมีน้ำมูกได้ โดยเฉพาะในช่วงเช้าๆ อาจจะมีน้ำมูกที่ค้างอยู่ในจมูกช่วงกลางคืน แต่เมื่อสั่งออกก็หมดไป แสดงว่าไม่ได้ป่วย แต่ถ้าน้ำมูกมีตลอดทั้งวัน สีข้นกว่าปกติ แสดงว่ามีอาการหวัด ถ้าเป็นหวัดธรรมดา (ไม่มีไข้) ประมาณ 2-3 วัน น้ำมูกก็จะหายไปเองตามธรรมชาติ (ไม่ต้องใช้ยา แต่ต้องดูแลให้ถูกหลักด้วย เช่น ไม่ดื่มน้ำเย็น พักผ่อนมากๆ ทำร่างกายให้อบอุ่น) แต่ถ้าเป็นมากกว่า 10 วัน ต้องระวังเรื่องภูมิแพ้ หรือไซนัสอักเสบ และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ต้องรีบพาลูกไปหาหมอ เพราะอาจเรื้อรังเป็นโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้อีก

** แปลและดัดแปลงรูปจาก Blank Children's Hospital https://bit.ly/2IpsjYu

วิธีสอนลูกสั่งน้ำมูก

ฝึกให้ลูกเรียนรู้วิธีสั่งน้ำมูกด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากให้ลูกดูคุณแม่ทำเป็นตัวอย่าง ใช้ทิชชู่ปิดจมูกข้างหนึ่งแล้วหายใจออกแรงๆ ทางจมูก ทำสลับข้าง การฝึกแบบนี้จะช่วยให้ลูกสามารถจัดการน้ำมูกเองได้เมื่อโตขึ้น

การดูแลเมื่อน้ำมูกไหล

  • ใช้ผ้านุ่มเช็ดน้ำมูกอย่างเบามือ หากน้ำมูกมีมาก อาจใช้อุปกรณ์ดูดน้ำมูก หรือบางบ้านใช้วิธีดูดด้วยปากตัวเอง แต่ต้องระวังเรื่องการติดเชื้อ
  • ควรให้ลูกหยุดเล่นนอกบ้านสัก 2-3 วัน และสังเกตว่ามีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น หูหรือคออักเสบ
  • หากน้ำมูกแห้งติด ควรใช้น้ำเกลือช่วยล้างออกอย่างเบามือ
  • ฝึกลูกสั่งน้ำมูกเมื่ออายุ 2-3 ขวบ เพื่อให้สามารถจัดการกับตัวเองได้
  • ดื่มน้ำอุ่น และอาจใช้หัวหอมหรือผลิตภัณฑ์ช่วยให้หายใจสะดวกในการบรรเทาอาการคัดจมูก

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

หลีกเลี่ยงการให้ยาลดน้ำมูกหรือยาแก้ไอเอง ยาเหล่านี้อาจทำให้เสมหะและน้ำมูกแห้งติดในหลอดลม การให้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

ไม่ควรแคะจมูกด้วยเล็บ ให้ใช้ผ้านุ่มหรือไม้พันสำลีเช็ดเบาๆ แทน เพื่อป้องกันการระคายเคืองคุณแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ด้วยการใช้กระดาษทิชชู่ ดรูจมูกข้างหนึ่งแล้วหายใจออกดังฟิด ใช้ทิชชู่ที่เตรียมไว้เช็ด ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง โดยแรกๆ คุณแม่อาจจะเป็นคนกดรูจมูกให้ลูกก่อน และอย่าสั่งแรงจนเกินไป


** สอบถาม เพิ่มเติม อุปกรณ์ ช่วยดูดน้ำมูกให้กับลูก กดติดต่อ Admin ด้านล่างได้ค่ะ  


 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้