Last updated: 20 ก.ค. 2566 | 6495 จำนวนผู้เข้าชม |
ชวนลูกเล่นในช่วง 3 เดือนแรก
พฤติกรรมลูกรักวัยแรกเกิดถึง 3 เดือน
1. ทารกแรกเกิด 2-3 สัปดาห์แรก เน้นนอนหลับ 16 ชั่วโมงต่อวัน สลับกับตื่นมากินนมทุก 2-3 ชั่วโมง
2. ทารกช่วงวัย 1 เดือน เริ่มตื่นนานขึ้น ขยับตัวมากขึ้น เล่นมากขึ้น หันหาเสียงและเริ่มจดจำกลิ่นคุณแม่ได้
3. ทารกช่วงวัย 2-3 เดือน ตื่นช่วงกลางวันมากขึ้น นอนกลางวัน 3-4 รอบ รอบละประมาณ 1 ชั่วโมง และนอนกลางคืนนานขึ้น
เล่นกับลูกวัยทารกได้อย่างไรบ้าง
1. พยายามชวนลูกเล่นช่วงเวลากลางวัน หลังลูกกินนมอิ่มแล้ว และยังไม่มีอาการง่วงนอน
2. เล่นตอบโต้สีหน้ากับลูกวัยแรกเกิด สบตา ยิ้ม ขยับศีษะ เพื่อกระตุ้นการรับรู้และการมองเห็นของลูก
3. ชวนลูกคุย พูดเล่น หยอกล้อ ลูกจะเริ่มส่งเสียงตอบรับได้ในช่วงวัยประมาณ 1 เดือนขึ้นไป
4. อ่านนิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่แรกเกิด เพื่อให้ลูกจดจำเสียงคุณพ่อคุณแม่ได้ เพื่อสานสัมพันธ์ให้เกิดความผูกพัน
5. ร้องเพลงเด็กกับลูกน้อย หรือเปิดเพลงแล้วขยับปากร้องตาม และหมั่นสบตาเพื่อให้เกิดการโต้ตอบกับลูก
6. ให้ลูกได้สัมผัสวัสดุที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น จับมือลูกมาลูบไล้ใบหน้าคุณแม่ หนังสือผ้า หรือห่วงนุ่มๆ เป็นต้น
ของเล่นของทารก
1. ของเล่นที่มีสีสันสดใสชวนมอง และแฟลตการ์ดสีขาวดำขนาดใหญ่ ช่วยกระตุ้นการมองเห็น
2. หนังสือนิทานผ้าที่สัมผัสแล้วมีเสียงดังกรอบแกรบ หรือของเล่นเขย่าที่มีเสียง กระตุ้นการได้ยิน และตอบสนองที่มาของเสียง
3. โมบายแขวน เพลยิม ตุ๊กตาห้อยสีสด ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อมือเวลาที่ลูกพยายามไขว่คว้า
ลูกวัย 2 เดือน ถึงเวลาฝึกคว่ำแล้ว
1. จับลูกน้อยคว่ำบนเบาะที่ปลอดภัย โดยมีคุณพ่อคุณแม่ดูแลอย่างใกล้ชิด
2. จับลูกคว่ำบนตัวคุณพ่อคุณแม่ เสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อคอ มือ แขน และประสาท
3. ระหว่างฝึกคว่ำ ให้กระตุ้นลูกน้อยด้วยของเล่นมีเสียง
เคล็ดไม่ลับ : คุณพ่อคุณแม่สามารถนวดกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยวัยทารกได้บริเวณมือ เท้า และท้องของลูก ช่วงเวลาหลังอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ หรือก่อนนอน การสัมผัสทารกจะช่วยเสริมสร้างความผูกพันด้วย
เรียบเรียงเป็นบทความจาก Youtube คุณหมอ ปัณฑิตา หมอเด็กภูเก็ต Dr Panthita Phuket Pediatrician
ทางร้าน พุงกลม ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
Source : https://shorturl.asia/FigSH
22 ม.ค. 2567
26 ธ.ค. 2554
22 ก.พ. 2567
3 เม.ย 2567