พัฒนาการของลูก 0-3 เดือน : ปกติหรือไม่ ดูอย่างไร?

Last updated: 5 มี.ค. 2562  |  3269 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พัฒนาการของลูก 0-3 เดือน : ปกติหรือไม่ ดูอย่างไร?

ทารกจะมีพัฒนาการหลากหลายมากในช่วง 3 เดือนแรก โดยทั่วไปทารกจะมีขั้นตอนของพัฒนาการในช่วงอายุเดือนที่เหมือนๆกัน แต่ พัฒนาการของทารกไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์ที่ตายตัว คุณแม่ คุณพ่อ ควรรู้ว่าลูกจะมีพัฒนาการตามอัตราของตัวเค้าเองค่ะ (ไม่ต้องใจร้อน ไปเร่ง หรือ กระวนกระวาย มาก)

วันนี้ พุงกลม มีวิธีการสังเกต ขั้นพัฒนาการของทารก สำหรับช่วง 3 เดือนแรก มาแบ่งปันค่ะ

การเคลื่อนไหว : ช่วงอายุนี้ ศีรษะของทารกจะมีการสั่นคลอน เนื่องจากยังไม่แข็งแรง และอาจจะมีการกระตุกได้บ้างเป็นปกติ แต่ไม่นานทารกก็จะสามารถยกศีรษะ และ หน้าอกขึ้นเวลาที่เค้าคว่ำตัวได้ และยังสามารถเตะขา ไปมาในท่านี้ได้ด้วยค่ะ ถ้าเรายื่นของเล่นให้ ทารกจะสามารถหยิบ และ ถือ ของเล่น ไว้ได้ ในเวลาสั้นๆ ค่ะ

การได้ยิน : ทารกจะอ่อนไหวต่อเสียงรอบๆ ตัวในช่วงนี้ค่ะ สังเกตว่าทารกจะเริ่มโต้ตอบกับเสียงคุณแม่ และ คุณพ่อได้ ด้วยการยิ้มหรือทำเสียงกลั้วในคอ เวลาได้ยินเสียง เค้าก็จะหันศีรษะ หรือ เคลื่อนตัว ไปในทิศทางของเสียงนั้นๆ ค่ะ

การมองเห็น : ทารกจะสนใจใบหน้าของคุณแม่ คุณพ่อ มากค่ะ โดยเฉพาะ ดวงตา และ สายตา ในช่วงป้อนอาหารให้ทารก

ช่วงเดือนแรก ทารกจะชอบมองวัตถุที่มีลวดลายสะดุดตา  มีรูปทรง หรือ สีที่ฉูดฉาด หรือเป็น สีขาว ดำ จนถึงช่วงขวบเดือนที่ 2 สายตาของ ทารกจะเริ่มมองได้ชัดเจนมากขึ้นและเริ่มที่จะมองตาม หรือ มองหา วัตถุ ต่างๆ จนสามารถ ที่จะจดจำวัตถุ และ ผู้คน ในระยะไกลขึ้นได้

การสื่อสาร : ช่วงอายุ 2 เดือน ทารกจะเริ่มทำเสียงต่างๆ และ เริ่มเลียนเสียงของคุณแม่ คุณพ่อ เวลาที่เรา พูด หรือ เล่นกับเค้าค่ะ

ข้อผิดสังเกต ของทารก ช่วง 0-3 เดือน

เข้าใจก่อนนะคะว่า เป็นเรื่องปกติมากๆ ที่ ทารกอาจจะมีขั้นตอนพัฒนาการ ที่เร็วกว่า หรือ ช้ากว่า หลักพัฒนาการทั่วไป อย่างไรก็ตาม การที่เราช่างสังเกต ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่จะช่วยให้เราระวังว่า ลูกของเราอาจมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเกณฑ์

ปรึกษากุมารแพทย์ ถ้าเรามีความกังวลเรื่องพัฒนาการของลูก หรือ หากเราพบ ความผิดปกติ จากอาการเหล่านี้ได้ค่ะ

·  ลูกไม่แสดงพัฒนาการ ด้านการขยับศีรษะ
·  ลูกไม่โต้ตอบกับเสียงรอบๆ ตัว
·  ลูกไม่ยิ้มให้กับคนรอบๆ ตัว หรือ เสียงรอบตัว
·  ลูกไม่มองตาม วัตถุที่เคลื่อนไหว
·  ลูกไม่มอง มือของตัวเอง
·  ลูกไม่สามารถหยิบจับสิ่งของเองได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้